เมลาโทนิน (Melatonin) คือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายผลิตตามธรรมชาติ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมวงจรการหลับ-ตื่น (Sleep-wake cycle) ของทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยเมลาโทนิน (Melatonin) นั้นถูกสร้างขึ้นจากต่อมไพเนียล (Pineal gland) ภายในสมองเมื่อถูกกระตุ้นจากความมืดหรือเข้าสู่เวลากลางคืน ส่งผลให้ร่างกายสามารถเข้าสู่การนอนหลับได้ และจะหยุดหลั่งเมื่อมีแสงสว่าง ซึ่งคือตอนเช้าเมื่อเราตื่นนอน ดังนั้นจึงถือได้ว่า เมลาโทนิน (Melatonin) เปรียบเสมือนเครื่องมือที่สำคัญในการควบคุมนาฬิกาชีวิต (Biological rhythm) เพื่อให้ร่างกายเราเข้าสู่วงจรการหลับ-ตื่นได้อย่างเป็นระบบ สอดคล้องไปกับเวลาธรรมชาติ รวมถึงการปรับอุณหภูมิร่างกาย ความดันเลือด และการเต้นของหัวใจ
ในปัจจุบันได้มีการนำเมลาโทนินมาใช้ในการรักษาโรคนอนไม่หลับ ซึ่งชนิดที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคนอนไม่หลับได้นั้น จะอยู่ในรูปของเมลาโทนิน ที่มีการศึกษาทางคลินิก และต้องได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนธรรมชาติ ซึ่งผลิตโดยสมอง มีหน้าที่ในการควบคุมการหลับ-ตื่นในมนุษย์ โดยเมื่อมนุษย์เราอายุมากขึ้น ความถี่และความรุนแรงในการเกิดโรคนอนไม่หลับจะยิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินก็จะลดลงเช่นกัน เมลาโทนินที่สามารถใช้ในการรักษาโรคนอนไม่หลับได้นั้นควรอยู่ในรูปแบบออกฤทธิ์ได้ต่อเนื่อง8-10 ชม. ครอบคลุมตลอดระยะเวลาของการนอนหลับ ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับการหลั่งของเมลาโทนินภายในร่างกาย ประสิทธิภาพของเมลาโทนิน เมลาโทนินที่ดีควรมีประสิทธิภาพในด้านการเพิ่มคุณภาพการนอนและการตื่นรู้ตัวในตอนเช้า ► เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ (Improve quality of sleep) ► ลดระยะเวลาที่ใช้ในการเข้านอน (Decrease sleep latency) ► เพิ่มระยะเวลาในการนอนให้เหมาะสมกับวัย สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งนั่นคือ เมลาโทนินที่ปลอดภัยต้องไม่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับกลับเป็นซ้ำ (Rebound insomnia) หรืออาการถอนยา (Withdrawal effect) ภายหลังจากการหยุดยา แม้ว่าจะใช้ติดต่อกันนานถึง 6 เดือน
Comments